ชื่อไทย : เครือออน
ชื่อท้องถิ่น : ค้างเบี้ย(นครพนม)/ งวงชุม(ขอนแก่น,เลย)/ ท้องปลิง(จันทบุรี,ใต้)/ เบี้ย(กลาง,นครพนม)/ พญาโจร, พวงประดิษฐ์(กทม.)/ พลูหีบ(นครราชสีมา,สระบุรี)/ ล้วงสุ่มขาว, ล้วงสุ่มตัวผู้(นครราชสีมา)/ สะแกบ(อุตรดิตถ์)/ สังขยา(นราธิวาส,สงขลา)/ ออนแดง, จั่งบั่ง(เชียงใหม่) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Congea tomentosa Roxb.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ อายุหลายปี ผลัดใบ เลื้อยพันได้ไกล 10 เมตร เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถาสีน้ำตาลเรียบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม
ใบ :
เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่แกมรูปรี กว้าง 4-5 ซม. ยาว 6-13 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวมีขนปกคลุม ผิวใบสากมือ
ดอก :
ดอกจริงสีขาว ขนาดเล็ก โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบน 2 กลีบ และส่วนล่าง 3 กลีบ ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อละ 5-7 ดอก กลีบประดับสีชมพูอมม่วง หรือสีขาวเงินมีขนนุ่มปกคลุ่ม มี 3 กลีบ รูปรี โคนติดกัน เส้นผ่าศูนย์กลาง (รวมกลีบประดับ) 2-2.5 ซม.
ผล :
รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ปลายผลแหลม มีขนยาวสีขาวหนาแน่น  เมล็ด เมล็ดเดี่ยว
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : ธันวาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : เมษายน
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา พบตามบนภูเขา เลื้อยคลุมเรือนยอดไม้ใหญ่

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์ พม่าและไทย

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ปลูกประดับซุ้มไม้เลื้อยให้ร่มเงา

 

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

แสงแดดจัด ถ้าอากาศเย็นกลีบประดับจะมีสีชมพูเข้ม ดินร่วนปนทราย ค่อนข้างแห้ง ปลูกขึ้นซุ้มไม้เลื้อยขนาดใหญ่และแข็งแรง

เพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง

 

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- ใบหรือใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ตำคั้นน้ำทา บรรเทาอาการ อักเสบจากตะขาบ แมงป่อง และแมลงมีพิษกัดต่อย …[1]

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] อฤชร พงษ์ไสว. 2541. ไม้เลื้อยประดับ. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554